เริ่มต้นจากคนที่อยากจะหางานทำในช่วงสมัยเรียน ตอนอายุ 16 ที่ไม่รู้ลักษณะสินค้า ยี่ห้อสินค้า ก็มีโอกาสที่แปะอยุ่บนบอร์ดกระดานสมัยเรียน และเข้าไปสัมภาษณ์โดยที่ไม่คิดอะไรมาก สัมภาษณ์ได้ๆ ไม่ได้ก็ไม่เอา จนเริ่มต้นการเป็นพนักงาน และพิสูจน์โอกาสจากพี่ๆที่บริษัทแห่งหนึ่งให้มา จนปัจจุบันก็ไม่เคยลืมประสบการณ์การทำงานนั้นอีกยังจำได้ถึงทุกวันนี้ อยากขอบคุณและถ่ายทอดเรื่องราว ให้คนอื่นได้รับรู้ว่าช่วงอายุ 16 บางคนมีเวลาปิดเทอมไว้พักผ่อน แต่ในขณะที่บางคนก็เอาเวลาว่างไปหาเงินทำงานเพื่อซื้อของที่อยากได้ เพื่อการใช้จ่ายโดยไม่ต้องเพิ่งเงินพ่อแม่บ้าง สิ่งที่ได้จากประสบการณ์ครั้งนั้นทำให้บางคนเป็นคนที่กล้าออกไปเผชิญโลกภายนอก ไปดูกันเลย
เราเริ่มต้นและรู้จักกับคำว่าพนักงานขายบนห้างสรรพสินค้าก็เมื่อตอนที่เราอยู่ปวช.1 ซึ่งตอนนั้นทางบริษัท แห่งหนึ่งมารับนักศึกษาทำงาน parttime แล้วเราไปเห็นประกาศรับสมัครพอดี และรับสมัครในช่วงปิดเทอม ซึ่งเวลาปิดเทอมน้อยมาก แค่ 2 อาทิตย์เอง ตอนนั้นด้วยความที่อยากหาเงินมาเพื่อไว้ใช้ซื้อของที่อยากได้ ก็ลองไปสมัครดูเพราะแม่เราบอกว่าถ้าอยากได้อะไรก็ให้หาเงินหรือเก็บเงินซื้อเอง ความคิดเราตอนนั้นคิดได้เพียงว่า ลำพังเด็กปวช.1 นั้นคงไม่มีที่ไหนรับสมัครเข้าไปทำ parttime หรอก เมื่อมีประกาศติดเราก็เลย อยากลอง ก็เข้าไปที่ห้องแนะแนวเพื่อลงชื่อ แผนก ห้อง สินค้าที่เราอยากจะทำตอนนั้นเลือกเสื้อผ้าเด็กไป และก็รอเรียกสัมภาษณ์ในวันที่เข้ามาสัมภาษณ์
ณ วันสัมภาษณ์ เราก็เข้าไปโดยมีพี่แผนกสินค้าจากบริษัทแห่งหนึ่งเข้ามา มีแผนกเสื้อผ้า แผนกเครื่องสำอางค์ แผนกเสื้อผ้าเด็ก เมื่อเราก็เรียกสัมภาษณ์ สิ่งที่เค้าถามเราเลยครั้งแรกที่เจอกัน ทำไมถึงอยากทำงาน และรู้จัก สินค้ายี่ห้อนี้ไหม กะอีกแค่เด็กปวช.1 อายุแค่ 16 ปี ยากจนคนหนึ่งทำไมถามแบบนี้ คำถามว่าทำไมถึงมาสมัครงาน parttime ก็พอตอบได้นะ แต่รู้จักสินค้ายี่ห้อนี้ไหม จริงๆ ไม่ควรถามนะ เพราะเด็กบางคนไม่ได้ สนใจยี่ห้อสินค้าหรอกว่ายี่ห้อนี้อะไรยังไง แต่สิ่งที่เค้าสนใจมากกว่าคือทำอย่างไงถึงจะได้งาน ได้เงินมากกว่า แล้วพี่เค้าก็ดูบุคลิกเรา ด้วย ก่อนที่จะทำการไปเขียนใบสมัครที่บริษัท สิ่งแรกที่โดนกลับมาคือ พี่แผนกเสื้อผ้าเด็กไม่รับ เพราะเราไม่เหมาะกับการขายสินค้าเค้า เราก็ไปสัมภาษณ์กับพี่แผนกเครื่องสำอางค์ เค้าก็บอกว่าเราต้องแต่งหน้า แล้วจะแต่งหน้าได้หรอ ในที่สุดเราก็ไปได้สินค้ายี่ห้อหนึ่งซึ่งขายกางเกงในชาย นั่นคืองานแรกของเรา แรกสุดเราไปประจำที่มาบุญครองฝั่งโตคิว อยู่ได้ไม่กี่วันก็ไปจัดลงบูทที่สยามพารากอน การที่พนักงานขายจะเข้าพื้นที่ห้างต้องมีจดหมายส่งตัวไปให้ถ้าเราไม่รู้จักใครเลยให้ไปหาพี่ที่เป็นพนักงานประจำอยู่ที่บูทสินค้าที่เราจะขายนั้น พี่เค้าก็จะพาเราไปพบกับพี่ฝ่ายบุคคล ได้จะต้องผ่านการอบรมกฎระเบียบของห้างก่อน 1 วัน และได้บัตรชั่วคราวมา แต่ตอนที่ไปลงบูทที่สยามพารากอนนั้นไม่ต้องใช้บัตร แต่ต้องแลกบัตรพนักงานชั่วคราว เป็นการทำงานที่หนักมากซึ่งตอนนั้นเราไม่รู้ว่าเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีนั้นห้ามทำงานเกิน 8 ชม.ไม่รวมเวลาพัก และไม่มีโอทีให้ เราก็เล่นซะ 3-4 ทุ่มทุกวัน ทำให้เรารู้ว่าต่อไปถ้าจะทำงานถ้าไม่ถามให้รอบคอบเราก็จะเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบทุกอย่าง การมองโลกในแง่ดีก็ทำให้คนอื่นเอาเปรียบเราง่ายๆ เงินค่าแรงในตอนนั้นได้วันละ 175 บาท จำได้ว่า โอทีชมละ 27 บาท ได้ประมาณ 2000 กว่าบาท เงินเดือนก้อนแรกที่ได้มาก็รู้สึกว่าอยากร้องไห้ รู้ว่ามันเหนื่อยมากกว่าจะได้เงินมามันลำบาก ได้รู้ว่าทำไมบางคนถึงมาทำงานอย่างนี้ แต่เราก็อยู่กับมันทุกๆ ปิดเทอมมีตอนอยู่ปวช 2(ม.5)ที่ไม่ได้ทำงานเพราะเหนื่อยอยากออกไปเที่ยวเล่นตามประสาเด็กม.ปลาย
มีตอนปวช3ที่มีโอกาสได้ลองทำงาน 1 เดือน ขายกางเกงในที่ไม่ใช่ขายอย่างเดียว ไปขายที่เซ็นทรัลสีลมทาวเวอร์ ซึ่งตอนนั้นพี่ที่ประจำอยู่ที่สีลมทาวเวอร์ได้ลาออกไปปกติครั้งที่ผ่านๆ มาเราแค่ต้อนรับลูกค้าอย่างเดียวและอยู่เป็นเพื่อนๆสลับกับพี่ๆ แต่คราวนี้เราต้องทำการสแกนบาร์โค้ดรหัสด้วยลงบันทึกว่าเราขายสินค้าอะไรไปบ้างเหลือสต๊อกของเท่าไหร่ แรกๆเราก็ให้พี่เค้าสแกนบาร์โค้ดให้เพราะเราทำไม่เป็นและเป็นครั้งสุดท้ายที่คิดจะมาทำงานเป็นพนักงานขายสินค้า และช่วงที่การทำงานพนักงานขายของบริษัทหนึ่งจะจบลงนั้นมีพี่ที่ขายกางเกงยีนนั้นต้องลางานไป 14 วัน เพื่อกลับบ้าน แต่หาคนงานไม่ได้พี่เค้าก็มาถามเราว่า เราว่างไหม ซึ่งช่วงนั้นเราก็ว่าง ก็ได้มีงาน พี่เค้าให้เงินพาร์ทไทม์วันละ 230 บาทต่อวัน และเป็นช่วง 2 อาทิตย์ที่จะไม่มีวันลืมเลย เพราะว่าทำให้เกือบไม่ได้ฝึกงาน เพราะตัวเองไม่รู้ว่าเค้าเปลี่ยนกฎการฝึกงานใหม่
ในเรื่องของการเป็นพนักงานชั่วคราวก็ทำให้รุ้ว่าการทำงานฆ่าเวลาเป็นอย่างไร รอคอยเวลาเป็นอย่างไร ทำให้ตัวเองรู้สึกว่าการเก็บเงินเป็นอย่างไร เด็กๆอาจจะไม่รู้หรอกว่าผู้ใหญ่หาเงินมันลำบากมากแค่ไหน ก็อยากให้ประหยัดๆ เก็บเงินไว้บ้างเผื่อว่าอยากได้อะไรก็จะได้ไปซื้อเอง ไม่ต้องขอเงินพ่อแม่ ทำให้ชีวิตช่วงปิดเทอมมีความหมายและมีคุณค่าแถมยังได้เงินมาใช้ด้วย
ปล.เรื่องรายละเอียดการเชียร์สินค้า ลักษณะสินค้าขอไม่ลงลึกนะ อยากให้เป็นความลับของบริษัทนั้น
บัตรพนักงานใบแรกในชีวิต
เราเริ่มต้นและรู้จักกับคำว่าพนักงานขายบนห้างสรรพสินค้าก็เมื่อตอนที่เราอยู่ปวช.1 ซึ่งตอนนั้นทางบริษัท แห่งหนึ่งมารับนักศึกษาทำงาน parttime แล้วเราไปเห็นประกาศรับสมัครพอดี และรับสมัครในช่วงปิดเทอม ซึ่งเวลาปิดเทอมน้อยมาก แค่ 2 อาทิตย์เอง ตอนนั้นด้วยความที่อยากหาเงินมาเพื่อไว้ใช้ซื้อของที่อยากได้ ก็ลองไปสมัครดูเพราะแม่เราบอกว่าถ้าอยากได้อะไรก็ให้หาเงินหรือเก็บเงินซื้อเอง ความคิดเราตอนนั้นคิดได้เพียงว่า ลำพังเด็กปวช.1 นั้นคงไม่มีที่ไหนรับสมัครเข้าไปทำ parttime หรอก เมื่อมีประกาศติดเราก็เลย อยากลอง ก็เข้าไปที่ห้องแนะแนวเพื่อลงชื่อ แผนก ห้อง สินค้าที่เราอยากจะทำตอนนั้นเลือกเสื้อผ้าเด็กไป และก็รอเรียกสัมภาษณ์ในวันที่เข้ามาสัมภาษณ์
ณ วันสัมภาษณ์ เราก็เข้าไปโดยมีพี่แผนกสินค้าจากบริษัทแห่งหนึ่งเข้ามา มีแผนกเสื้อผ้า แผนกเครื่องสำอางค์ แผนกเสื้อผ้าเด็ก เมื่อเราก็เรียกสัมภาษณ์ สิ่งที่เค้าถามเราเลยครั้งแรกที่เจอกัน ทำไมถึงอยากทำงาน และรู้จัก สินค้ายี่ห้อนี้ไหม กะอีกแค่เด็กปวช.1 อายุแค่ 16 ปี ยากจนคนหนึ่งทำไมถามแบบนี้ คำถามว่าทำไมถึงมาสมัครงาน parttime ก็พอตอบได้นะ แต่รู้จักสินค้ายี่ห้อนี้ไหม จริงๆ ไม่ควรถามนะ เพราะเด็กบางคนไม่ได้ สนใจยี่ห้อสินค้าหรอกว่ายี่ห้อนี้อะไรยังไง แต่สิ่งที่เค้าสนใจมากกว่าคือทำอย่างไงถึงจะได้งาน ได้เงินมากกว่า แล้วพี่เค้าก็ดูบุคลิกเรา ด้วย ก่อนที่จะทำการไปเขียนใบสมัครที่บริษัท สิ่งแรกที่โดนกลับมาคือ พี่แผนกเสื้อผ้าเด็กไม่รับ เพราะเราไม่เหมาะกับการขายสินค้าเค้า เราก็ไปสัมภาษณ์กับพี่แผนกเครื่องสำอางค์ เค้าก็บอกว่าเราต้องแต่งหน้า แล้วจะแต่งหน้าได้หรอ ในที่สุดเราก็ไปได้สินค้ายี่ห้อหนึ่งซึ่งขายกางเกงในชาย นั่นคืองานแรกของเรา แรกสุดเราไปประจำที่มาบุญครองฝั่งโตคิว อยู่ได้ไม่กี่วันก็ไปจัดลงบูทที่สยามพารากอน การที่พนักงานขายจะเข้าพื้นที่ห้างต้องมีจดหมายส่งตัวไปให้ถ้าเราไม่รู้จักใครเลยให้ไปหาพี่ที่เป็นพนักงานประจำอยู่ที่บูทสินค้าที่เราจะขายนั้น พี่เค้าก็จะพาเราไปพบกับพี่ฝ่ายบุคคล ได้จะต้องผ่านการอบรมกฎระเบียบของห้างก่อน 1 วัน และได้บัตรชั่วคราวมา แต่ตอนที่ไปลงบูทที่สยามพารากอนนั้นไม่ต้องใช้บัตร แต่ต้องแลกบัตรพนักงานชั่วคราว เป็นการทำงานที่หนักมากซึ่งตอนนั้นเราไม่รู้ว่าเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีนั้นห้ามทำงานเกิน 8 ชม.ไม่รวมเวลาพัก และไม่มีโอทีให้ เราก็เล่นซะ 3-4 ทุ่มทุกวัน ทำให้เรารู้ว่าต่อไปถ้าจะทำงานถ้าไม่ถามให้รอบคอบเราก็จะเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบทุกอย่าง การมองโลกในแง่ดีก็ทำให้คนอื่นเอาเปรียบเราง่ายๆ เงินค่าแรงในตอนนั้นได้วันละ 175 บาท จำได้ว่า โอทีชมละ 27 บาท ได้ประมาณ 2000 กว่าบาท เงินเดือนก้อนแรกที่ได้มาก็รู้สึกว่าอยากร้องไห้ รู้ว่ามันเหนื่อยมากกว่าจะได้เงินมามันลำบาก ได้รู้ว่าทำไมบางคนถึงมาทำงานอย่างนี้ แต่เราก็อยู่กับมันทุกๆ ปิดเทอมมีตอนอยู่ปวช 2(ม.5)ที่ไม่ได้ทำงานเพราะเหนื่อยอยากออกไปเที่ยวเล่นตามประสาเด็กม.ปลาย
มีตอนปวช3ที่มีโอกาสได้ลองทำงาน 1 เดือน ขายกางเกงในที่ไม่ใช่ขายอย่างเดียว ไปขายที่เซ็นทรัลสีลมทาวเวอร์ ซึ่งตอนนั้นพี่ที่ประจำอยู่ที่สีลมทาวเวอร์ได้ลาออกไปปกติครั้งที่ผ่านๆ มาเราแค่ต้อนรับลูกค้าอย่างเดียวและอยู่เป็นเพื่อนๆสลับกับพี่ๆ แต่คราวนี้เราต้องทำการสแกนบาร์โค้ดรหัสด้วยลงบันทึกว่าเราขายสินค้าอะไรไปบ้างเหลือสต๊อกของเท่าไหร่ แรกๆเราก็ให้พี่เค้าสแกนบาร์โค้ดให้เพราะเราทำไม่เป็นและเป็นครั้งสุดท้ายที่คิดจะมาทำงานเป็นพนักงานขายสินค้า และช่วงที่การทำงานพนักงานขายของบริษัทหนึ่งจะจบลงนั้นมีพี่ที่ขายกางเกงยีนนั้นต้องลางานไป 14 วัน เพื่อกลับบ้าน แต่หาคนงานไม่ได้พี่เค้าก็มาถามเราว่า เราว่างไหม ซึ่งช่วงนั้นเราก็ว่าง ก็ได้มีงาน พี่เค้าให้เงินพาร์ทไทม์วันละ 230 บาทต่อวัน และเป็นช่วง 2 อาทิตย์ที่จะไม่มีวันลืมเลย เพราะว่าทำให้เกือบไม่ได้ฝึกงาน เพราะตัวเองไม่รู้ว่าเค้าเปลี่ยนกฎการฝึกงานใหม่
ในเรื่องของการเป็นพนักงานชั่วคราวก็ทำให้รุ้ว่าการทำงานฆ่าเวลาเป็นอย่างไร รอคอยเวลาเป็นอย่างไร ทำให้ตัวเองรู้สึกว่าการเก็บเงินเป็นอย่างไร เด็กๆอาจจะไม่รู้หรอกว่าผู้ใหญ่หาเงินมันลำบากมากแค่ไหน ก็อยากให้ประหยัดๆ เก็บเงินไว้บ้างเผื่อว่าอยากได้อะไรก็จะได้ไปซื้อเอง ไม่ต้องขอเงินพ่อแม่ ทำให้ชีวิตช่วงปิดเทอมมีความหมายและมีคุณค่าแถมยังได้เงินมาใช้ด้วย
ปล.เรื่องรายละเอียดการเชียร์สินค้า ลักษณะสินค้าขอไม่ลงลึกนะ อยากให้เป็นความลับของบริษัทนั้น
บัตรพนักงานใบแรกในชีวิต
Comments
Post a Comment